กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
เตรียมสอบรอง-ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถม/มัธยมศึกษา    ผู้บริหารการศึกษา  หน้าแรก


เป้าหมายการจัดการศึกษา

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลดความเลื่อมล้ำ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

More...
เป้าหมายการจัดการศึกษา

ปณิธานของพวกเรา

 

มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเพื่อปวงชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์เพื่อชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

More...
ปณิธานของพวกเรา
<-Less
ข้อมูลพื้นฐาน
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ภาค ก(๑๐๐ คะแนน)ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ และความสามารถในการวิเคราะห์ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
๑. วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนน ๕๐ คะแนน)
๒. วิชาความสามารถในการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (คะแนน ๕๐ คะแนน)
    ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
    ๑.๒ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
    ๑.๓ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน
    ๑.๔ การบริหารและการจัดการคุณภาพการศึกษา
    ๑.๕ การบริหารงาน การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษากับองค์กรหรือบุคคลภายนอก
    ๑.๖ การบริหารและการกำกับดูแลด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารงานทั่วไปในเขตพื้นที่การศึกษา
    ๑.๗ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ๑.๘ บทบาท อำนาจ หน้าที่ วินัย คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษา
 
 
ข้อมูลสารสนเทศ
   สรุป แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
   ๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
   ๒.๓ กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
   ๒.๔ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
   ๒.๕ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๗ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
   ๒.๘ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
   ๒.๙ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
   ๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
   ๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
   ๒.๑๒ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
   ๒.๑๔ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
   ๒.๑๕ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
   ๒.๑๖ กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   ๒.๑๗ กฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
   ๒.๑๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
   ๒.๑๙ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
   ๒.๒๐ กฎ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่น ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่
 
ลิ้งค์แนะนำ(เปิดหน้าต่างใหม่)
    รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
    พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการศึกษา
    คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    พระราชกฤษฏีกา เกี่ยวกับการศึกษา
    กฎกระทรวง เกี่ยวกับการศึกษา
    กฏ ออกตามความในกฎหมายระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    ประกาศ เกี่ยวกับการศึกษา
    ระเบียบ เกี่ยวกับการศึกษา
Breaking News
  Latest News

ข้อต้อนรับสู่รั้ว บริหารการศึกษา เตรียมสอบ รอง-ผอ.เขต 65

 
Social Network
 

กคศ. สภาการศึกษา  กลุ่มสรรหาพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ. 

 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      34 คน

สถิติเดือนนี้:   62 คน

สถิติปีนี้:        4659 คน

สถิติทั้งหมด: 31561 คน

 

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 11+8=19


เมื่อ [2023-02-09 19:49:03]

กระทรวงศึกษาธิการ – เปิดเผยเหตุผลที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา* เพิ่มเติม 11 จังหวัด และเมื่อรวมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันที่มีการจัดตั้งแล้ว 8 จังหวัด (ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล) ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 จังหวัด

*พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ พื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.edusandbox.com)

จังหวัดสุโขทัย

มีการดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กด้อยโอกาส และมีความพร้อมทำงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐอื่น รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนการศึกษาในจังหวัด จึงมีความพร้อมและมีศักยภาพให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเป็นสถานศึกษานำร่องทั้งจังหวัด

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

อยู่ในพื้นที่สูงและพื้นที่ติดชายแดนและมีเด็กด้อยโอกาสจำนวนมาก มีผู้เรียนและประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์ ขาดแคลนครูทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนขาดความต่อเนื่อง จังหวัดจึงได้จัดตั้งองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาของจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และจะใช้ประโยชน์จากการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและผู้บริหารสถานศึกษา

จังหวัดกระบี่

มีบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเข้าใจบริบทของพื้นที่และมีศักยภาพในการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ความเสมอภาคด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง และเลือกเส้นทางในการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

จังหวัดตราด

มีผู้นำการศึกษาที่มีศักยภาพ มีสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้านจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ รวมทั้งได้ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาโดยร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและมีการประสานความร่วมมือระหว่างคนในพื้นที่เป็นอย่างดี

จังหวัดสระแก้ว

เป็นพื้นที่ติดชายแดน ขาดการบูรณาการในด้านการศึกษา เด็กส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาส เด็กและเยาวชนของจังหวัดมีผลการทดสอบทางการศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำกว่าระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่

กรุงเทพมหานคร

มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น 1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยโรงเรียนดำเนินการปรับกรอบหลักสูตร มีพี่เลี้ยงทางวิชาการสนับสนุน มีการอบรมพัฒนาครู การเพิ่มทักษะการใช้นวัตกรรมการศึกษารูปแบบต่าง ๆ หรือเทคนิคการสอนใหม่ ๆ และปรับกลไกการติดตามเพื่อความคล่องตัว เช่น กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) การให้อิสระกับสถานศึกษาในการบริหารจัดการโดยวางแนวทางการบริหารด้านบุคลากรและงบประมาณที่สนับสนุนงานด้านวิชาการ ศึกษากฎระเบียบที่เอื้อให้เกิดความอิสระและเพิ่มความคล่องตัวเพื่อให้เกิดการปลดล็อกเพิ่มเติมและ 3) มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่และจัดตั้ง “ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อระดมพลังพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเด็กกรุงเทพมหานคร” โดยมีผู้แทนทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อไป

จังหวัดจันทบุรี

มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ Chan Education Shift Model (C = Change , H = Happiness , A = Agreement for Action, N = Network Instruction) Change คือ ยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน โดยมุ่งการลด ละ เลิก โครงการที่ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งการปลดล็อกกฎ ระเบียบต่าง ๆ และมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา Happiness คือ ผู้เรียนได้พัฒนาองค์รวมความรู้ ทักษะ สมรรถนะตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข สอดคล้องกับวิถีชีวิต “สุขทุกวันที่จันทบุรี” Agreement for Action คือ จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ในระยะเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้มีนวัตกรรมในการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความสอดคล้องกับบริบทของตนเอง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง Network Instruction คือ สถานศึกษาจัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน อปท. และภาคประชาสังคม

จังหวัดภูเก็ต

มีแผนที่จะสร้างระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน โดยมุ่งเน้นการสร้างคนและการศึกษา เช่น มุ่งเน้นให้เด็กภูเก็ตทุกคนต้องพูดได้มากกว่า 2 ภาษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมในการบริหารทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อนำจังหวัดภูเก็ตไปสู่ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกและในอนาคตจะต้องแข่งกับประเทศอื่นในเรื่องเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

จังหวัดสงขลา

มีแนวทางการเนินการที่ชัดเจน เช่น (1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาสถานศึกษา (2) มุ่งส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อปท. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และ (3) มีสถานศึกษาในจังหวัดเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

มีเป้าหมายสำคัญที่จะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเป็นคนดีมีการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีสมรรถนะที่จำเป็นรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กที่มีปัญหาให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค

จังหวัดอุบลราชธานี

ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งมีการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนตามสมรรถนะและบริบท

ที่มา : thaigov.go.th

ดาวน์โหลด คลิกดาวน์โหลดที่นี่20200601_ActInnoArea2562.pdfที่นี่

ที่มา:  คลิกที่นี่