กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
เตรียมสอบรอง-ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถม/มัธยมศึกษา    ผู้บริหารการศึกษา  หน้าแรก


เป้าหมายการจัดการศึกษา

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลดความเลื่อมล้ำ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

More...
เป้าหมายการจัดการศึกษา

ปณิธานของพวกเรา

 

มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเพื่อปวงชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์เพื่อชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

More...
ปณิธานของพวกเรา
<-Less
ข้อมูลพื้นฐาน
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ภาค ก(๑๐๐ คะแนน)ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ และความสามารถในการวิเคราะห์ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
๑. วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนน ๕๐ คะแนน)
๒. วิชาความสามารถในการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (คะแนน ๕๐ คะแนน)
    ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
    ๑.๒ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
    ๑.๓ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน
    ๑.๔ การบริหารและการจัดการคุณภาพการศึกษา
    ๑.๕ การบริหารงาน การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษากับองค์กรหรือบุคคลภายนอก
    ๑.๖ การบริหารและการกำกับดูแลด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารงานทั่วไปในเขตพื้นที่การศึกษา
    ๑.๗ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ๑.๘ บทบาท อำนาจ หน้าที่ วินัย คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษา
 
 
ข้อมูลสารสนเทศ
   สรุป แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
   ๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
   ๒.๓ กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
   ๒.๔ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
   ๒.๕ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๗ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
   ๒.๘ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
   ๒.๙ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
   ๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
   ๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
   ๒.๑๒ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
   ๒.๑๔ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
   ๒.๑๕ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
   ๒.๑๖ กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   ๒.๑๗ กฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
   ๒.๑๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
   ๒.๑๙ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
   ๒.๒๐ กฎ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่น ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่
 
ลิ้งค์แนะนำ(เปิดหน้าต่างใหม่)
    รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
    พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการศึกษา
    คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    พระราชกฤษฏีกา เกี่ยวกับการศึกษา
    กฎกระทรวง เกี่ยวกับการศึกษา
    กฏ ออกตามความในกฎหมายระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    ประกาศ เกี่ยวกับการศึกษา
    ระเบียบ เกี่ยวกับการศึกษา
Breaking News
  Latest News

ข้อต้อนรับสู่รั้ว บริหารการศึกษา เตรียมสอบ รอง-ผอ.เขต 65

 
Social Network
 

กคศ. สภาการศึกษา  กลุ่มสรรหาพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ. 

 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      24 คน

สถิติเดือนนี้:   91 คน

สถิติปีนี้:        4688 คน

สถิติทั้งหมด: 31590 คน

 

ครม.เห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566


เมื่อ [2023-02-09 06:37:01]

(10 มกราคม 2566) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 จำนวน 18 วัน และให้ความเห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 จำนวน 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤษภาคม 2544) เรื่องวันหยุดชดเชยของทางราชการ มีผลทำให้ภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และวันหยุดชดเชยมีจำนวนรวม 18 วัน ดังนี้

  1. วันปีใหม่ วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม (วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่) วันจันทร์ที่ 2 มกราคม
  2. วันมาฆบูชา วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม
  3. วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน
  4. วันสงกรานต์ (รวม 3 วัน) วันพฤหัสบดีที่ 13 – วันเสาร์ที่ 15 เมษายน (วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์) วันจันทร์ที่ 17 เมษายน
  5. วันฉัตรมงคล วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม
  6. วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพุธที่ 17 พฤษภาคม
  7. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน และวันวิสาขบูชา (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และวันวิสาขบูชา) วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน
  8. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม
  9. วันอาสาฬหบูชา วันอังคารที่ 1 สิงหาคม
  10. วันเข้าพรรษา  วันพุธที่ 2 สิงหาคม
  11. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม (วันหยุดชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ) วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม
  12. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม
  13. วันปิยมหาราช วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม
  14. วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันอังคารที่ 5 ธันวาคม
  15. วันรัฐธรรมนูญ  วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม (วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม
  16. วันสิ้นปี วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม (วันชดเชยวันสิ้นปี) วันอังคารที่ 2 มกราคม 2567

โดยที่ในแต่ละปีที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวัน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง และส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ประกอบกับขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ภาคบริการ และการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเห็นควรให้มีการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ในปี 2566 จำนวน 1 วัน คือวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ การกำหนดให้วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 4 วัน (วันพฤหัสบดีที่ 4 – วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566)

1).
ดูขนาดภาพจริง
ที่มา:  คลิกที่นี่https://moe360.blog/2023/01/10/public-holiday-2566/