กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
เตรียมสอบรอง-ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถม/มัธยมศึกษา    ผู้บริหารการศึกษา  หน้าแรก


เป้าหมายการจัดการศึกษา

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลดความเลื่อมล้ำ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

More...
เป้าหมายการจัดการศึกษา

ปณิธานของพวกเรา

 

มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเพื่อปวงชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์เพื่อชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

More...
ปณิธานของพวกเรา
<-Less
ข้อมูลพื้นฐาน
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ภาค ก(๑๐๐ คะแนน)ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ และความสามารถในการวิเคราะห์ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
๑. วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนน ๕๐ คะแนน)
๒. วิชาความสามารถในการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (คะแนน ๕๐ คะแนน)
    ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
    ๑.๒ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
    ๑.๓ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน
    ๑.๔ การบริหารและการจัดการคุณภาพการศึกษา
    ๑.๕ การบริหารงาน การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษากับองค์กรหรือบุคคลภายนอก
    ๑.๖ การบริหารและการกำกับดูแลด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารงานทั่วไปในเขตพื้นที่การศึกษา
    ๑.๗ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ๑.๘ บทบาท อำนาจ หน้าที่ วินัย คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษา
 
 
ข้อมูลสารสนเทศ
   สรุป แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
   ๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
   ๒.๓ กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
   ๒.๔ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
   ๒.๕ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๗ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
   ๒.๘ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
   ๒.๙ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
   ๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
   ๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
   ๒.๑๒ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
   ๒.๑๔ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
   ๒.๑๕ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
   ๒.๑๖ กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   ๒.๑๗ กฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
   ๒.๑๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
   ๒.๑๙ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
   ๒.๒๐ กฎ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่น ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่
 
ลิ้งค์แนะนำ(เปิดหน้าต่างใหม่)
    รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
    พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการศึกษา
    คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    พระราชกฤษฏีกา เกี่ยวกับการศึกษา
    กฎกระทรวง เกี่ยวกับการศึกษา
    กฏ ออกตามความในกฎหมายระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    ประกาศ เกี่ยวกับการศึกษา
    ระเบียบ เกี่ยวกับการศึกษา
Breaking News
  Latest News

ข้อต้อนรับสู่รั้ว บริหารการศึกษา เตรียมสอบ รอง-ผอ.เขต 65

 
Social Network
 

กคศ. สภาการศึกษา  กลุ่มสรรหาพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ. 

 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      26 คน

สถิติเดือนนี้:   93 คน

สถิติปีนี้:        4690 คน

สถิติทั้งหมด: 31592 คน

 

การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 19ธ.ค.2565


เมื่อ [2023-01-22 12:51:48]

   ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

ตามจุดเน้นและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนภาคภูมิใจ รักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสานและต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน​​ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 11/2565 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 จึงกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา โดยจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์

-ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี

-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี)

-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) 

ตามแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ แนบท้ายประกาศนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

นางสาวตรีนุช เทียนทอง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

เพื่อให้การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน รวมทั้งบ่มเพาะให้ผู้เรียนภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เข้าใจการดำรงชีวิตของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในสังคม การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์

จึงกำหนดแนวปฏิบัติแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2565 เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้​​

  1. การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้มีรายวิชาพื้นฐานตาม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา 

ทั้งนี้ ให้มีโครงสร้างเวลาเรียนสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้​

​​          1.1 ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) ให้จัดเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 40 ชั่วโมงต่อปี

​          1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ให้จัดเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 40 ชั่วโมงต่อปี (1หน่วยกิตต่อปี)

​​          1.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ให้จัดเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต)

2.การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์

ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่งส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ ทั้งด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และอื่น ๆ ดังนี้

2.1 ด้านหลักสูตร

ให้สถานศึกษาทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ดังนี้

1) กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับเป้าหมายของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์

2) ​กำหนดนโยบายการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในเชิงของการบูรณาการ ให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ใช้ประวัติศาสตร์เป็นบริบท (Contexts) และบูรณาการประวัติศาสตร์กับหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เพื่อให้เกิดเป็นจริยธรรมของผู้เรียน สำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

​​          3) สร้างนิเวศการเรียนรู้ให้ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ห้องเกียรติยศ ป้ายนิเทศ มุมประวัติศาสตร์​​

2.2 ด้านการจัดการเรียนรู้

ให้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปต่อยอด และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

​​          1) ใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ชุมชน

​​          2) ​สอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง และศีลธรรมของผู้เรียนตามความเหมาะสม

​​          3) จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยให้ผู้เรียน

ได้ศึกษา วิเคราะห์ ถกแถลง และแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์

​​          4) ​ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์เปรียบเทียบ ประเมินหลักฐาน ความคิดผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์

2.3 ด้านการเลือกใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้

          1) ​ใช้สื่อร่วมสมัยที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เช่น สื่อดิจิทัล การ์ตูนแอนิเมชัน

          2) ​ใช้สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เช่น สื่อเกม สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR)

​​          3) ใช้สื่อจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคคลสำคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน

​​2.4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

​​          1) ​ใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง โดยเน้นการประเมินกระบวนการคิดมากกว่าการประเมินความจำ

​​          2) ​ใช้การประเมินระหว่างเรียนเป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียน

​​          3) ​ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสำรวจ การสอบถาม

​ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์อย่างหลากหลาย

ที่มา:  คลิกที่นี่