กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
เตรียมสอบรอง-ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถม/มัธยมศึกษา    ผู้บริหารการศึกษา  หน้าแรก


เป้าหมายการจัดการศึกษา

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลดความเลื่อมล้ำ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

More...
เป้าหมายการจัดการศึกษา

ปณิธานของพวกเรา

 

มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติเพื่อปวงชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์เพื่อชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

More...
ปณิธานของพวกเรา
<-Less
ข้อมูลพื้นฐาน
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
ภาค ก(๑๐๐ คะแนน)ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ และความสามารถในการวิเคราะห์ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
๑. วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนน ๕๐ คะแนน)
๒. วิชาความสามารถในการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (คะแนน ๕๐ คะแนน)
    ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
    ๑.๒ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
    ๑.๓ นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน
    ๑.๔ การบริหารและการจัดการคุณภาพการศึกษา
    ๑.๕ การบริหารงาน การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษากับองค์กรหรือบุคคลภายนอก
    ๑.๖ การบริหารและการกำกับดูแลด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารงานทั่วไปในเขตพื้นที่การศึกษา
    ๑.๗ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ๑.๘ บทบาท อำนาจ หน้าที่ วินัย คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษา
 
 
ข้อมูลสารสนเทศ
   สรุป แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
   ๒.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
   ๒.๓ กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
   ๒.๔ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
   ๒.๕ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๖ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ๒.๗ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
   ๒.๘ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
   ๒.๙ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
   ๒.๑๐ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
   ๒.๑๑ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
   ๒.๑๒ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
   ๒.๑๔ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
   ๒.๑๕ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
   ๒.๑๖ กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   ๒.๑๗ กฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
   ๒.๑๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
   ๒.๑๙ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
   ๒.๒๐ กฎ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่น ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่
 
ลิ้งค์แนะนำ(เปิดหน้าต่างใหม่)
    รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
    พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการศึกษา
    คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    พระราชกฤษฏีกา เกี่ยวกับการศึกษา
    กฎกระทรวง เกี่ยวกับการศึกษา
    กฏ ออกตามความในกฎหมายระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    ประกาศ เกี่ยวกับการศึกษา
    ระเบียบ เกี่ยวกับการศึกษา
Breaking News
  Latest News

ข้อต้อนรับสู่รั้ว บริหารการศึกษา เตรียมสอบ รอง-ผอ.เขต 65

 
Social Network
 

กคศ. สภาการศึกษา  กลุ่มสรรหาพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ  สพฐ. 

 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      35 คน

สถิติเดือนนี้:   834 คน

สถิติปีนี้:        4247 คน

สถิติทั้งหมด: 31149 คน

 

จัดหาสื่อเพื่อการเรียนรู้


เมื่อ [2022-06-03 03:57:51]

เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ดังนี้

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต จะได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงกำหนดนโยบายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้

  1. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการบริหารจัดการและการพัฒนากำลังคน โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารงานและการจัดการศึกษา
  2. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
  3. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายการศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System : TE2S) การศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand โดยให้ทุกหน่วยงานพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันอย่างรอบด้าน ครบถ้วน ร่วมกันพิจารณาหาแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการร่วมกันแบบบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

  1. ICT (Information and Communication Technologies) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 7 เรื่องย่อย ได้แก่ (1) Data Center ศูนย์ข้อมูลกลาง (2) Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ (คลังข้อมูล การนำข้อมูลมารวมกัน) (3) Platform (e-library e-learning และ Teaching Resource Platform) (4) e-book (5) e-office e-mail และ document (6) ระบบบริหารจัดการห้องเรียน School และ Classroom Management และ (7) โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure (Internet)
  2. การจัดการองค์ความรู้และยกระดับทักษะที่จำเป็น เน้นพัฒนาความรู้และสมรรถนะด้าน Digital Literacy สำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันตามระดับและประเภทของการจัดการศึกษา เช่น STEM Coding เป็นต้น
  3. การศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ พัฒนา 3 ทักษะหลัก ได้แก่ โลกทัศน์อาชีพ การเสริมทักษะใหม่ (Up Skill) และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Re-Skills) ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย (1) ผู้อยู่ในระบบการศึกษา (การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา) (2) ผู้อยู่นอกระบบการศึกษา (3) วัยแรงงาน และ (4) ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ (Digital Disruption) โดยเน้นเพิ่มบทบาทของ กศน.ในการ Re-Skills ด้านอาชีวศึกษากับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  4. การต่างประเทศ เน้นภารกิจที่ต้องใช้ความร่วมมือระดับนานาชาติในการจัดหาครูชาวต่างชาติให้แก่สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดการศึกษาในสถานศึกษา 2 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) ด้านภาษาต่างประเทศ และ (2) ด้านวิชาการ โดยเฉพาะอาชีวศึกษา
  5. กฎหมายและระเบียบ เน้นแผนงาน 2 เรื่อง ที่บรรจุอยู่ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 : การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง มีประเด็นปฏิรูป 5 ประเด็น ได้แก่ – การมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และมีการทบทวน จัดทำ แก้ไข และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง – การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา – การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต – การทบทวนและปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ – การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ เรื่องที่ 6 การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป 3 ประเด็น ได้แก่ สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ
  6. ระบบบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร โดยรวบรวมหลักสูตรวิชาการของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดฝึกอบรมให้แต่ละกลุ่มเป้าหมาย และใช้ประโยชน์จากสถาบันพัฒนาที่มีอยู่แล้ว เช่น สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะสมรรถนะให้แก่บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ (ผู้บริหารหน่วยงานทุกระดับ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ครู อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ) รวมทั้งพัฒนายกระดับให้เป็นสถาบันฝึกอบรมระดับนานาชาติ
  7. การประชาสัมพันธ์ โดยจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตสื่อและจัดทำเนื้อหา (Content) เพื่อเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมและการเข้าร่วมงานต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานในภาพรวมของ กระทรวงศึกษาธิการ
  8. การพัฒนาเด็กปฐมวัย ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  9. การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ
  10. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การยกระดับตอบรับอัตโนมัติเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Call Center ด้านกฎหมาย) การวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ
  11. การปฏิรูปองค์การและโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ
  12. การพัฒนาครู ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพที่สูงขึ้น
  13. การศึกษายกกำลังสอง โดย – พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) – จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ http://www.deep.go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) – ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) – จัดทำ “คู่มือมาตรฐานโรงเรียน” เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น

การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

  • มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำด้วยคุณภาพ โดยสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา และเติมเต็มช่องว่างระหว่างทักษะ (Full fill Skill Gaps) โดยขยายและยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน เน้นร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำ (Tailor-made Curriculum) ขับเคลื่อนความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสู่มาตรฐานนานาชาติ
  • มุ่งเน้น Re-Skills, Up Skill และ New Skill การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น รวมทั้งผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและสถานประกอบการ
  • มุ่งเน้นพัฒนาศูนย์ประสานงานกลางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (TVET Excellence Center) สู่มาตรฐานสากล ผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ รวมถึงการนำนวัตกรรม Digital เพื่อมุ่งสู่การอาชีวศึกษาดิจิทัล (Digital College)
  • มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ให้เป็นผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Technical Vocational Education and Training : TVET, Student Skill Set) รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในต่างประเทศและการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ
  • มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษา สร้างภาพลักษณ์สถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียน
  • สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัย

การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

  • ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่ยุติการศึกษา ทั้งก่อนและหลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ

การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้

การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง

  • เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

  • ปฏิรูปองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเป็นเอกภาพของหน่วยงาน
  • ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม
  • ยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)

การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ

  1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้น เป็นกรอบแนวทางในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณไว้
  2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ่ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามลำดับ โดยมีบทบาทภารกิจในการตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ
  3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ

อนึ่ง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อน เมื่อรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นอกเหนือจากที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ไฟล์แนบ

2).
ดูขนาดภาพจริง
5).
ดูขนาดภาพจริง
ที่มา:  คลิกที่นี่https://www.moe.go.th/%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%99-2565/